ฯพณฯ องคมนตรี พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการฯ ระหว่างสมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตและสุขภาวะไทย และ องค์กรพันธมิตรใหม่ 49 องค์กร เพิ่มจาก 21 องค์กรเดิม และเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง“ประชากรสูงอายุและประชากรลดลง : จากการคาดการณ์ สู่การป้องกัน”
ฯพณฯ องคมนตรี พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) เรื่อง การเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการใช้เวชศาสตร์วิถีชีวิตในการดำเนินชีวิต และประกอบวิชาชีพของบุคลากร และประชาชน ครั้งที่ 2 กับองค์กรพันธมิตร 49 องค์กร และเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง “ประชากรสูงอายุและประชากรลดลง : จากการคาดการณ์ สู่การป้องกัน” ซึ่งจัดโดย สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตและสุขภาวะไทย (TLWA) ร่วมกับ International Board of Lifestyle Medicine, Lifestyle Medicine Global Alliance องค์กรพันธมิตรเดิม 21 องค์กร และองค์กรพันธมิตรใหม่ ในวันที่ 21 และ 22 กุมภาพันธ์ 2568 ณ อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ เวชศาสตร์วิถีชีวิตคือการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตที่ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ด้วยการให้ความสำคัญกับเสาหลักหกด้าน กล่าวคือ
(๑) การทานอาหารจากธรรมชาติที่มีพื้นฐานมาจากพืช
(๒) มีการเคลื่อนไหวทางกายอยู่อย่างสม่ำเสมอ
(๓) นอนหลับได้อย่างเพียงพอเพื่อฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างดี
(๔) มีการบริหารความเครียด
(๕) หลีกเลี่ยงการรับหรือบริโภคสารที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ
(๖) การมีมุมมองทางจิตวิทยาเชิงบวก และมีความเชื่อมโยงกันทางสังคม
ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นแนวทางเบื้องต้น สำหรับการป้องกัน และรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตและสุขภาวะไทย มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสริมการประกอบโรคศิลปะด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิต ส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องผ่านความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และเผยแพร่ความรู้การป้องกันโรคด้วยเวชศาสตร์วิถีชีวิตให้กับประชาชน โดยสมาคมมีความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ Lifestyle Medicine Global Alliance และ International Board of Lifestyle Medicine อันเป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไรที่มีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรด้านนี้ใน 31 ประเทศ และสมาคมฯได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการ เรื่องการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการใช้เวชศาสตร์วิถีชีวิตในการดำเนินชีวิตและการประกอบวิชาชีพของบุคลากรและประชาชน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ 6 เสาหลักของเวชศาสตร์วิถีชีวิต 21 องค์กร เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 และได้จัดการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งที่ 2 กับอีก 49 องค์กรในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568
ด้วยสมาคมฯ เล็งเห็นว่า ปัจจุบัน ไทยมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น เผชิญปัญหาการเจ็บป่วยจากโรค NCDs ที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขณะที่ประชากรเกิดใหม่กำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โดยที่จำนวนประชากรที่เสียชีวิตในแต่ละปีมีจำนวนมากกว่าจำนวนประชากรเกิดใหม่แล้ว ซึ่งมีแนวโน้มว่าทั้งหมดนี้จะกระทบต่อประเทศและประชาชนในหลายมิติ สมาคมฯ จึงได้หารือกับหน่วยงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อร่วมกันหาทางออกของผลกระทบดังกล่าว
นำเวชศาสตร์วิถีชีวิตมาร่วมใช้ในการแก้ปัญหา และมุ่งบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาช่วยปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งพิจารณาแผนรับมือในอนาคตเพื่อนำเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป จึงได้มีความคิดเห็นร่วมกันในการจัดเวทีวิชาการขึ้น เพื่อหารือร่วมกันในประเด็นดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความตระหนักและความตื่นตัวในการร่วมกันแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาประชากรไทยในอนาคตสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไป
สัญลักษณ์องค์กรที่ร่วมลงนามใน MOU 21 กุมภาพันธ์ 2568
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ
เรื่อง การเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการใช้เวชศาสตร์วิถีชีวิต
ในการดำเนินชีวิตและการประกอบวิชาชีพของบุคลากรและประชาชน
บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จัดทำขึ้น ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ระหว่าง สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตและสุขภาวะไทย
และ
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
- กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
- ทันตแพทยสภา
- สภาเทคนิคการแพทย์
- สภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย
- สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สถาบันกรรมฐานศึกษาสมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันการสร้างชาติ
- มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
- มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า
- มูลนิธิธรรมดี
- มูลนิธิสถาบันพลังจิตตานุภาพ
- มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน
- มูลนิธิหนึ่งน้ำใจ
- Spiritual Health Foundation
- สมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสแห่งประเทศไทย
- สมาคมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย
- สมาคมนักธุรกิจจีนโพ้นทะเล
- สมาคมนิทราเวชศาสตร์
- สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
- สมาคมเพศวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์ทางเพศ (ประเทศไทย)
- สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย
- สมาคมวัยหมดระดูแห่งประเทศไทย
- สมาคมศิษย์เก่าศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด
- สมาคมอนามัยเจริญพันธุ์ (ไทย)
- กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- โรงพยาบาลในเครือบางปะกอก – ปิยะเวท
- โรงพยาบาลวิมุต – เทพธารินทร์
- เครือโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- บริษัท บำรุงราษฎร์ เซอร์วิสเซส จำกัด
- บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
ชั้น ๑ อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ (อาคาร ๑)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔๒๐/๑ ถนนราชวิถี เขตราชเวที กทม.๑๐๔๐๐
โทร.๐๙๓-๕๘๔-๐๘๔๐, ๐๘๐-๙๘๙-๗๔๑๕